รังสี UV คืออะไร

สำหรับครอบครัวที่มีลูกเล็กๆ ส่วนใหญ่การทำความสะอาดขวดนม จะใช้วิธีการต้ม หรือนึ่ง โดยเป็นการฆ่าเชื้อโรคด้วยความร้อนสูง ซึ่งเหมาะกับพาชนะที่เป็นแก้ว หรือซิลิโคน ส่วนขวดนมแบบพลาสติกการใช้ความร้อนสูงมากๆ ทุกวันจะทำให้ขวดนมพลาสติกและจุกนมเสื่อมสภาพเร็วขึ้นกว่าปกติ และเกิดการปล่อยสารต่างๆ ออกมาจากพลาสติกนั้น เช่น สารพวกโพลีเมอร์ หรือฟอร์มัลดีไฮด์ปนเปื้อนออกมาจากพลาสติกที่เสื่อมสภาพ แถมยังทิ้งไอน้ำไว้ที่ก้นขวด ซึ่งไอน้ำนี้อาจมีเชื้อแบคทีเรียแฝงอยู่

ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้มีการคิดค้นการฆ่าเชื้อโรค โดยรังสี UV ที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้กับหลากหลายผลิตภัณฑ์ เช่น ขวดนมพลาสติก ยางกัด จานชาม หรือแม้แต่อุปกรณ์อเลกทรอนิก มาทำความรู้จักกับ หลอดรังสี UV-C ที่หลายคนสงสัยว่า ฆ่าเชื้อโรคได้จริงไหม?

รังสี UV คืออะไร

แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ประกอบด้วยรังสี 2 ส่วนคือ รังสีที่มองเห็นได้และมองไม่เห็นรังสีที่มองเห็นได้ จะมี 7 สี แต่จะสามารถเห็นต่อเมื่ออากาศมีความชื้นสูง รังสีจากดวงอาทิตย์ตกกระทบกับน้ำในอากาศ เราจะสามารถมองเห็นสีทั้ง 7 ได้ ที่เรียกว่า “รุ้งกินน้ำ” นั่นเอง รังสีที่มองไม่เห็น คือพลังงานในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกมาจากดวง อาทิตย์ มี 2 ส่วนคือ

1. รังสี UV หรือ Ultra Violet (อัลตราไวโอเลต) ทำให้เกิดการเผาไหม้
2. รังสี Infrared (อินฟาเรด ) ทำให้เกิดความร้อน

ระดับควมเข้มของรังสี UV แบ่งตามความเข้มข้นได้ 3 ระดับคือ

• รังสี UV-A ระดับความเข้มข้นต่ำสุด ถูกดูดซึมไปในชั้นบรรยากาศเล็กน้อย
• รังสี UV-B ระดับความเข้มข้นปานกลาง ถูกดูดซึมไปบางส่วน
• รังสี UV-C ระดับความเข้มข้นสูงสุด ถูกดูดซึมไปในชั้นบรรยากาศเกือบหมด ไม่ค่อยหลงเหลือลงมาสู่พื้นโลก

รังสี UV สามารถฆ่าเชื้อได้อย่างไร

• เนื่องจากรังสี UV-C เป็นรังสีที่เป็นอันตรายเพราะมีความสามารถในการเผาไหม้สูง นักวิทยาศาสตร์จึงนำมาประยุกต์ใช้ในการฆ่าเชื้อโรคที่เป็นอันตราย
• หลอดสังเคราะห์รังสี UV-C คือ หลอดไฟชนิดพิเศษที่สังเคราะห์รังสี UV-C เลียนแบบธรรมชาติเพื่อสำหรับการฆ่าเชื้อโรค มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Germicidal Lamp (เจิมมิไซโดล แลมป์) หรือเรียกสั้นๆ ว่าหลอด UV

การนำรังสี UV มาประยุกต์ใช้งานภาคอุตสาหกรรม

• สถานที่สาธารณะ ที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมากหรืออยู่เป็นเวลานาน เช่นห้องเรียน, ค่ายทหาร, โรงภาพยนตร์, หอประชุม, ห้องรับรอง, สำนักงาน ให้ติดตั้งหลอดUVGI ในท่อฆ่าเชื้อโรคในอากาศ, ท่อปรับสภาพอากาศ
• โรงพยาบาล ตึกคนไข้, ห้องตรวจ, ครัว, ที่เก็บเครื่องมือผ่าตัดและอุปกรณ์ของใช้ต่างๆ อาหารและเครื่องดื่ม ทั้งขั้นตอน ขณะผลิต, บรรจุหีบห่อ, จัดเก็บ
• อุตสาหกรรมการผลิตเวชภัณฑ์ รวมถึง สารปฏิชีวนะ ยา และเครื่องสำอาง
• การป้องกันสัตว์ป่วย ใช้กับเรือนปศุสัตว์, คอก, ฟาร์ม, เล้า, กรงขัง รวมไปถึงสวนสัตว์ได้
• ห้องทดลอง และเครื่องมือทดลองต่างๆ
• โรงงานผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด Water

ข้อมูลจาก : www.babygiftretail.com